รู้จักโครงการชุมชนอัจฉริยะ และน่าอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“โครงการชุมชนอัจฉริยะและน่าอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” Smart and Sustainable Community

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 การเคหะแห่งชาติได้เดินหน้าพัฒนาโครงการต้นแบบที่เรียกว่า SSC หรือโครงการชุมชนอัจฉริยะและน่าอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งเป็นโครงการที่มีแนวคิดว่า ผู้อยู่อาศัยทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเอง เพื่อนบ้าน และสังคมที่ตนเองอยู่ โดยมีการนำระบบและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเป็นกลไกในการพัฒนา เพื่อสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชน

#การเคหะแห่งชาติ #การเคหะแห่งชาติใส่ใจคุณใส่ใจสังคม

เพราะเราทำอย่างใส่ใจ
 
โครงการชุมชนอัจฉริยะและน่าอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือ SSC คือโครงการที่เป็นการร่วมมือกันของการเคหะแห่งชาติและภาคีเครือข่ายที่ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS เพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลางดีขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน 

โดยนำนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ในชุมชน ผ่าน 4 มิติ ได้แก่ 1.มีส่วนรวมในการตัดสินใจ 2.สภาพแวดล้อม 3.เศรษฐกิจ 4.สุขภาพ ด้วยการบูรณาการตามหลัก 3P ได้แก่ Profit (ผลกำไร) People (คุณภาพชีวิตของประชาชน) และ Planet (สิ่งแวดล้อม) โดยเน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากผู้อยู่อาศัยเป็นประเด็นหลัก

#การเคหะแห่งชาติ
#การเคหะแห่งชาติยุคใหม่ใส่ใจคุณใส่ใจสังคม

เพราะเราใส่ใจคุณ

คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในโครงการของการเคหะแห่งชาติ คือ กลุ่มคนที่เราให้การใส่ใจมากที่สุด ดังนี้

1. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
การเคหะแห่งชาติสร้างความเท่าเทียมในการแสดงความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ให้โอกาสในการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของตนเอง

   2. สุขภาพ (สุขภาวะทางสังคม)
การเคหะแห่งชาติ ร่วมมือกับ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการด้านสุขภาพ ให้มีความปลอดภัยและมีสุขภาวะที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ

รวมทั้งนำโครงการ “Sensor for All” ที่บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดตามข้อมูลด้านคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในชุมชนปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศทาง
http://sensorforall.eng.chula.ac.th/
Facebook : Sensor for All

นอกจากนี้กำลังจะมีการต่อยอดโดยพัฒนาแอปพลิเคชัน Sensor For All บนสมาร์ทโฟน
 
   3. เศรษฐกิจ (ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งให้ความรู้เพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้ รวมถึงตอบโจทย์ตลาดแรงงาน และพัฒนาชุมชนให้สามารถประหยัดค่าไฟในครัวเรือนได้

#การเคหะแห่งชาติ
#การเคหะแห่งชาติยุคใหม่ใส่ใจคุณใส่ใจสังคม

เพราะเรา ใส่ใจสังคม
การเคหะแห่งชาติ ใส่ใจสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก จึงได้ดูแลใน 5 ด้าน ประกอบด้วย
1. คุณภาพอากาศ นำ Sensor for all ตรวจวัดคุณภาพอากาศเข้ามาใช้ในชุมชน
2. น้ำและพลังงาน
⚬ติดตั้ง Solar Powered Pump นำพลังงานไฟฟ้าที่ได้มาใช้ในการสูบน้ำเข้าถังเก็บน้ำ
⚬ด้านพลังงาน นำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาพัฒนาชุมชน รวมถึงการให้ความรู้และพัฒนาชุมชนให้สามารถประหยัดค่าไฟในครัวเรือน
 3. การบริหารจัดการขยะ
⚬ทำถังหมักรักษ์โลก (Green Cone)
 4. การจัดการน้ำเสีย
⚬ติดตั้ง Solar Powered Aerator เพื่อเติมอากาศบำบัดบ่อน้ำเสีย
 5. การจัดการพื้นที่สีเขียว
⚬มีการปลูกต้นไม้ในพื้นที่โครงการ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและเป็นพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน

การเคหะแห่งชาติ มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการผลักดัน นำพาทุกชุมชนของการเคหะแห่งชาติ ก้าวไปสู่ Smart and Sustainable Community โดยการบูรณาการ ด้วยหลัก 3P ได้แก่ Profit (ผลกำไร) People (คุณภาพชีวิตของประชาชน) และ Planet (สิ่งแวดล้อม) โดยเน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากผู้อยู่อาศัยเป็นประเด็นหลัก

“เพราะท้ายที่สุดแล้วการพัฒนาทุกอย่าง ก็เพื่อประโยชน์และความสุขอย่างยั่งยืนของผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาตินั่นเอง”

ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

กรรมการการเคหะแห่งชาติ

และประธานกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

#การเคหะแห่งชาติ

#การเคหะแห่งชาติยุคใหม่ใส่ใจคุณใส่ใจสังคม

Compare listings

เปรียบเทียบ
Skip to content