พม. โดยการเคหะฯ จัดตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 การเคหะแห่งชาติ”รองรับการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาว

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ จัดตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 การเคหะแห่งชาติ” เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 นับตั้งแต่
ที่มีการระบาดระลอกแรกช่วงปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งนำข้อมูลมาถอดบทเรียนสำหรับบริหารสถานการณ์
ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด – 19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ และความปลอดภัยของประชาชนเป็นอย่างมาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ ได้ดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปัจจุบัน
การเคหะแห่งชาติได้จัดตั้ง“ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 การเคหะแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ทั้งภายในและภายนอกองค์กร นับตั้งแต่ที่มีการระบาดระลอกแรกจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการขอความช่วยเหลือจากผู้อยู่อาศัยในชุมชนและผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งนำข้อมูลที่ได้รับมาประเมินผล วิเคราะห์ วางแผน และถอดบทเรียนเพื่อรองรับการดำเนินงานท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ในระยะยาว
ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการทำงานของศูนย์ดังกล่าว แบ่งออกเป็นศูนย์ปฏิบัติการย่อย 3 ศูนย์ ได้แก่

1. ศูนย์ช่วยเหลือโควิด – 19 ภาคประชาชน ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ ปัจจุบันมีผู้ป่วย สะสม 3,987 ราย หายป่วยแล้ว 1,215 ราย มีผู้กักตัวสะสม 617 ราย ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ 2,555 ราย เสียชีวิตสะสม 76 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2564) โดยการเคหะแห่งชาติให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น จัดตั้งศูนย์พักคอยในชุมชน 15 แห่ง มอบอาหารปรุงสุกและน้ำดื่มร่วมกับภาคีเครือข่าย 91,409 ชุด มอบถุงยังชีพ 1,466 ราย มอบชุดเวชภัณฑ์ 3,000 ชุด ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในอาคารพักอาศัย 99 อาคาร ประสานงานกับกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ จัดรถโมบายพาณิชย์จำหน่ายสินค้าราคาถูกในชุมชน 29 ชุมชน ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด – 19 เชิงรุกในชุมชน 32,198 คน มีผู้ติดเชื้อ 2,523 คน รวมทั้งประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดหาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด – 19 ให้ชาวชุมชน

  1. ศูนย์ช่วยเหลือโควิด – 19 ภาคประชาชน กทม. 4 เขตมีนบุรี คลองสามวา หนองจอก ลาดกระบัง โดย นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดเร่งให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและผู้ป่วยติดเตียงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ในพื้นที่ 50 เขต กทม. ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวในพื้นที่ 4 เขต ได้แก่
    เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา เขตหนองจอก และเขตลาดกระบัง ปัจจุบันให้ความช่วยเหลือแล้ว 62 เคส ประกอบด้วย
    การให้คำปรึกษา 60 เคส และประสานกลับภูมิลำเนา 2 เคส นอกจากนี้ ยังได้นำถุงยังชีพของการเคหะแห่งชาติไปมอบให้ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 และผู้กักตัวอีก 31 ถุง และชุดเวชภัณฑ์ 27 ชุด รวมถึงส่งมอบ “ถุงกำลังใจ สู้โควิด – 19” ของสำนักนายกรัฐมนตรี 833 ถุง (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2564)3.
  2. ศูนย์ช่วยเหลือโควิด – 19 ผู้ปฏิบัติงานและบุคคลในครอบครัว ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้จัดสวัสดิการช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวที่ติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องช่วยเหลือประชาชน เช่น ค่ารักษาพยาบาล การช่วยเหลือด้านการเงิน การฉีดวัคซีนของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว การส่งมอบถุงยังชีพและยารักษาพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วย การตรวจคัดกรอง/ตรวจเชิงรุกให้กับผู้ปฏิบัติงาน การประสานสถานพยาบาลรับผู้ป่วยเข้ารักษาตัว และการจัดเตรียมศูนย์พักคอยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้ง จัดทำ Line OA : NHA Care เพื่อรับแจ้งข้อมูลของผู้ปฏิบัติงานที่ติดเชื้อโควิด – 19 และส่งต่อข้อมูลให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
    นอกจากนี้การเคหะแห่งชาติได้จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อบริการประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 3 ระบบ คือ 1. ระบบขอความช่วยเหลือ ประสานส่งต่อผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ทั้งในชุมชนของการเคหะแห่งชาติและประชาชนในพื้นที่ 4 เขต กทม. 2. ระบบติดตามอาการของผู้ป่วยที่รักษาตัวในศูนย์พักคอย (Community Isolation)/แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)/กักตัวที่โรงแรม (Hotel Isolation) และ 3. ระบบรับบริจาคและแจกจ่ายถุงยังชีพนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยจะแสดงข้อมูลของผู้ที่บริจาคถุงยังชีพและกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความช่วยเหลือด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้

Compare listings

เปรียบเทียบ
Skip to content