แบบบ้าน ผู้สูงอายุ

การเคหะแห่งชาติ เปิดให้ดาวน์โหลดแบบบ้านผู้สูงอายุ
โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบ
”บ้านผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช่บ้านผู้สูงอายุ”

จากผลงานของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมทั่วประเทศกว่า 109 ผลงาน กรั่นกรองโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านการ Workshop และ Coaching นำมาพัฒนาปรับปรุงเป็นแบบก่อสร้างแจกจ่ายให้กับผู้สนใจทั่วไป

* ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อจัดทำแบบบ้านผู้สูงอายุสำหรับประชาชน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย
เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการออกแบบ และก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย

ความเป็นมาของโครงการ

     ปัจจุบันสังคมไทยกําลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสําคัญ คือ “การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” โดยสัดส่วนจํานวนประชากรในวัยทํางาน และวัยเด็กลดลง เนื่องจากอัตราการเกิด และการตายลดลงอย่างต่อเนื่อง ทําให้ประชากรโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น “สังคมผู้สูงอายุ” จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยสามารถเห็นได้จากประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ประเทศเหล่าน้ีได้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภค ชุมชน และสวัสดิการ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ถูก คิดค้นขึ้นมารองรับสังคมผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในแต่ละปี      การเคหะแห่งชาติ ในฐานะผู้ดูแลพัฒนา “ที่อยู้อาศัย” ของคนในประเทศ ตระหนักถึง “สังคมผู้สูงอายุ” ที่กําลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน จึงได้ริเริ่ม โครงการส่งเสริม การพัฒนานวัตกรรมการออกแบบ “บ้านผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช่บ้านผู้สูงอายุ” โดยใช้ระยะเวลา กว่า 4 เดือน ในการเฟ้นหาสุดยอดนักออกแบบบ้านผู้สูงอายุรุ่นใหม่ ภายใต้โจทย์ประเภท งบประมาณ 500,000 บาท (ไม่รวมที่ดิน) และประเภทงบประมาณ 1,500,000 บาท (ไม่รวมที่ดิน)     จากผลงานของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมทั่วประเทศ กว่า 109 ผลงาน กลั่นกรอง โดยกรรมการผู้่ทรงคุณวุฒิ ผ่านการ Workshop และ Coaching ถูกคัดได้แบบที่ดีที่สุด 6 แบบ เพื่อนํามาพัฒนาต่อยอด และนําไปแจกจ่ายประชาชน โดยแบบที่การเคหะฯ ได้นํามา พัฒนาเพื่อให้พร้อมสร้างได้จริง ทั้งงานโครงสร้าง วัสดุ งานระบบทั้งหมด นอกจากน การเคหะฯ ยังได้เติมความสมบูรณ์โดยการเซ็นกํากับแบบไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่า นําแบบมาแล้วสร้างได้เลยจริงๆ  
     การพัฒนาองค์กรให้ทันสมัยด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เข้ามาในกระบวนการทำงานในด้านต่างๆ นั้น จะช่วยลดระยะเวลา ขั้นตอน และทำให้ผลงานนั้นมีประสิทะิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาผนวกกับการทำงานจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
     การเคหะแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีหน้าที่จัดให้มีเคหะเพื่อประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยโดยภายใต้ภารกิจดังกล่าว จึงได้เล้งเห็นแนวโน้มของสภาพสังคมของประเทศในอนาคตที่จะเป็นสังคมผู้สูงอายุ กล่าวคือ จะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก เคหะต่างๆ จึงควรมีการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น    จากแนวคิดดังกล่าว การเคหะแห่งชาติจึงจัดให้มีการประกวดแบบบ้านผู้สูงอายุขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการออกแบบบ้านผู้สูงอายุ และได้แบบบ้านที่ชนะประกวดแบบมาแล้วทั้งหมด 6 รางวัล กล่าวคือ เป้นผลงานออกแบบบ้านผู้สูงอายุในราคา 500,000 บาท จำนวน 3 รางวัล และผลงานออกแบบบ้านผู้สูงอายุในราคา 1,500,000 บาท อีกจำนวน 3 รางวัล ซึ่งผลงานที่ชนะประกวดดังกล่าว ทางการเคหะแห่งชาติได้นำมาต่อยอดและพัฒนาให้เป็นต้นแบบเพื่อสำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ต้องการนำแบบบ้านนั้นไปใช้สำหรับก่อสร้างต่อไป     ซึ่งในการพัฒนาและต่อยอดงานออกแบบที่ผ่านการชนะเลิศในการประกวดดังกล่าว หากมีการนำมาพัฒนาและต่อยอดบนระบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) นั้น ก็จะทำให้ผลงานที่ออกมานั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป้นการสร้างต้นแบบของบ้านผู้สูงอายุของการเคหะแห่งชาติ เพื่อรองรับภารกิจงานออกแบบด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยระบบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM : Building Information Modeling) ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป
    • เพื่อจัดทำแบบบ้านผู้สูงอายุสำหรับประชาชน โดยใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM)
    • เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการออกแบบและก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM)

 

  • ได้แบบก่อสร้างบ้านผู้สูงอายุสำหรับประชาชน ในรูปแบบของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM)
  • ได้ต้นแบบดิจิตอล (Digital Prototype) บ้านผู้สูงอายุ ในรูปแบบของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM)

 

แบบบ้านงบก่อสร้าง 500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดิน)

แบบบ้านงบก่อสร้าง 1,500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดิน)

Compare listings

เปรียบเทียบ
Skip to content